ทำความเข้าใจ SQL vs NoSQL คืออะไร ต่างกันอย่างไร?

SQL vs NoSQL

รู้หรือไม่ว่าการเลือกระบบจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบันและเมื่อพูดถึงการจัดการและการเก็บข้อมูลแอปพลิเคชัน หลายคนก็คงนึกถึง SQL (Structured Query Language)  และ NoSQL (Not Only SQL)  ซึ่งทั้งสองตัวเลือกนี้มีแนวทางที่แตกต่างกันในการจัดเก็บและดึงข้อมูล โดยในบทความนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง SQL vs NoSQL การทำงานและปัจจัยในการเลือกใช้ที่เหมาะสมสำหรับทุกคนกัน

 

SQL คืออะไร?

SQL Databases หรือที่เรียกกันว่า ฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์คือ ระบบที่ใช้โครงสร้างข้อมูลแบบ Relational Databaseโดย SQL Databases จะจัดข้อมูลในรูปแบบที่มีโครงสร้างเป็นตารางด้วย Schemas ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งในแต่ละตารางจะประกอบไปด้วย Row และ Column รวมถึงบังคับใช้ Key เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตารางทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลของกันและกันมากขึ้น ตัวอย่างของ SQL Databases ได้แก่ MySQL, Oracle, และ PostgreSQL เป็นต้น

 

SQL vs NoSQL

NoSQL คืออะไร?

NoSQL databases หรือที่เรียกกันว่า “ฐานข้อมูลไม่ใช่แบบเชิงสัมพันธ์” คือ ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ไม่ใช้โครงสร้างแบบตาราง มีวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่นกว่าและมี Schemas แบบไดนามิกไม่ตายตัวเหมือน SQL รวมถึงสามารถจัดการกับข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างอย่างไฟล์เอกสาร JSON หรือ XML ได้อีกด้วย NoSQL databases แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ Document-Oriented, Key-Value, Columnar, และ Graph Databases ตัวอย่างของ NoSQL databases ได้แก่ MongoDB, Cassandra, และ Redis

 

SQL vs NoSQL

SQL vs NoSQL ต่างกันอย่างไร?

1. Data Model

SQL

จัดข้อมูลด้วยโครงสร้าง Relational Model ในรูปแบบตารางที่มี Row และ Column โดยแต่ละ Column จะแสดงถึงชนิดของข้อมูลนั้น ๆ และในแต่ละ Row จะแสดงถึงข้อมูลที่บันทึกไว้ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างตารางถูกสร้างขึ้นจากการใช้ Primary keys ที่มีหน้าที่ไม่ให้ใน Column มีข้อมูลที่ซ้ำหรือเว้นว่างและ Foreign keys ที่ทำหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างตารางโดยอ้างอิงข้อมูลจาก Primary keys

 

SQL vs NoSQL

NoSQL

ในทางกลับกัน NoSQL จะมีวิธีการจัดการข้อมูลที่ยืดหยุ่นกว่า เริ่มตั้งแต่ Document-Oriented ที่ช่วยในการเก็บและดึงข้อมูลในฐานข้อมูลได้ง่ายขึ้น Key-value ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในรูปแบบ Key และ Value เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น Columnar เก็บข้อมูลในรูปแบบตารางแต่จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าแบบ Relational Database ที่ในแต่ละ Row จะไม่บังคับให้ Key Column และ Value Column ต้องเหมือนกันหรือก็คือสามารถแตกต่างกันได้นั่นเอง ส่วนสุดท้าย Graph มี Node และ Edge เชื่อมต่อกันทำให้สามารถเก็บข้อมูลและความสัมพันธ์จำนวนมากได้อย่างง่ายดาย

 

SQL vs NoSQL

2. Schema

SQL

มี Schema ที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยจะทำหน้าที่กำหนดโครงสร้างของข้อมูลและบังคับใช้โครงสร้างที่สร้างขึ้นมาเท่านั้น การปรับเปลี่ยน Schema จำเป็นจะต้องแก้ไขโครงสร้างของตารางซึ่งใช้เวลานานและยากพอสมควรรวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลที่มีอยู่ได้อีกด้วย

 

SQL vs NoSQL

NoSQL

มี Schema แบบไดนามิกหรือก็คือเราสามารถเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลได้โดยไม่ยึดติดกับโครงสร้าง สิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถปรับโครงสร้างการจัดเก็บตามรูปแบบของข้อมูลได้ง่ายขึ้น

 

SQL vs NoSQL

3. Scalability

SQL

สามารถปรับขนาดได้ในแนวตั้ง (Vertically Scalable) โดยการเพิ่มทรัพยากรให้มากขึ้นในเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียว เช่น เพิ่ม CPU, Memory, และ Storage การปรับขนาดแนวตั้งมีข้อจำกัดและราคาที่แพงสำหรับแอปพลิเคชันที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก

 

SQL vs NoSQL

NoSQL

สามารถปรับขนาดได้ดีในแนวนอน (Horizontally Scalable) ซึ่งหมายความว่า NoSQL databases จะกระจายข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องได้ การกระจายแบบนี้ช่วยให้จัดการการรับส่งข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นและหากต้องการปรับขนาดก็สามารถเพิ่มเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเติมในระบบได้เลย

 

SQL vs NoSQL

4. Flexibility

SQL

การบังคับใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตาราง ทำให้มั่นใจได้ว่าฐานข้อมูลจะมีความสอดคล้องและถูกต้องอย่างแน่นอนถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ความซับซ้อนมากก็ตาม

 

SQL vs NoSQL

NoSQL

ให้ความสำคัญกับการทำงานที่ยืดหยุ่นมากกว่าความสอดคล้องของข้อมูล เหมาะสำหรับการใช้งานกับข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ยังช่วยในการพัฒนา Schema แบบไดนามิกโดยไม่เสียประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย

 

SQL vs NoSQL

5. ACID Compliance

SQL

SQL Databases ยึดตามหลักการของ ACID (Atomicity, Consistency, Isolation, Durability) ที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าการทำธุรกรรมในระบบฐานข้อมูลจะได้รับการประมวลอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ เช่น ระบบการเงินอย่างการโอนเงินข้ามธนาคาร เป็นต้น

 

SQL vs NoSQL

NoSQL

ถึงแม้ NoSQL databases จะไม่มี ACID ในการสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานแต่มีหลักการ CAP Theorem ที่จะมีคุณสมบัติได้เพียง 2 ใน 3 ส่วน ได้แก่ C (Consistency), A (Availability) และ P (Partition) ถ้าเป็น A และ P คือการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลได้เสมอแม้ว่าข้อมูลจะยังไม่ได้รับการอัปเดตซึ่งจะขาดคุณสมบัติ C (Consistency) ไปเพราะข้อมูลทั้งหมดอาจจะไม่ถูกต้องตรงกัน แต่หากเป็น C และ P จะหมายถึงข้อมูลต้องอัปเดตก่อนจึงจะสามารถดึงไปได้ทำให้ช่วงเวลาตรงนี้ขาดคุณสมบัติ A (Availability) ไปในที่สุด

 

SQL vs NoSQL

เคล็ดลับการเลือกใช้งาน SQL และ NoSQL

SQL เหมาะสำหรับ

  • ระบบการเงินที่ต้องการความถูกต้องของข้อมูลและการสนับสนุนการทำธุรกรรม
  • แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีประเภทผลิตภัณฑ์และการจัดการที่ซับซ้อน
  • แอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการรายงานและการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้ง

NoSQL เหมาะสำหรับ

  • ระบบที่จำเป็นจะต้องวิเคราะห์และตรวจสอบการใช้งานตามเวลาจริงและประมวลผลข้อมูลในปริมาณที่มาก
  • แอปพลิเคชัน IoT (Internet of Things) ต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องการข้อมูลตามเวลาจริง

 

SQL vs NoSQL

สรุป

อย่างที่บอกไปว่า SQL และ NoSQL มีคุณสมบัติและข้อดีที่แตกต่างกัน SQL เหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่มีโครงสร้างความสอดคล้องที่แน่นอน รวมถึงต้องการความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูล ในขณะที่ NoSQL เหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการความยืดหยุ่นในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลอย่างรวดเร็ว ดังนั้นอย่าลืมคิดถึงเรื่องความเหมาะสมของการใช้งาน รูปแบบของข้อมูล และฟีเจอร์ที่จำเป็นเพื่อเลือกใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับตัวคุณด้วยนะ

 

💖 สำหรับใครที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SQL ศูนย์ฝึกอบรมของเราก็มีคอร์สเรียนมากมายมาแนะนำให้เพื่อน ๆ เลือกกัน ซึ่งสามารถเลือกเรียนได้ทั้งแบบ Onsite และ Classroom มีทั้งแบบ Private และ Public ด้วยนะ หากสนใจอบรม SQL สามารถจิ้มลิงก์ด้านล่างเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย 👇👇

https://www.ert.co.th/course/mysql-8-0-for-developers/

 

Ref: integrate.io

 


💬🙋‍♂️ สอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาได้ที่

☎ Tel: 02-718-1599

✉ Email: info@ert.co.th

📱 Line: https://lin.ee/wtyQVtl



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save