High & Low-Level Language ภาษาคอมพิวเตอร์ คืออะไร?

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ช่วยให้มนุษย์อย่างเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่เรากำหนดได้ โดยภาษาคอมพิวเตอร์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ภาษาระดับสูง (High-Level Language) และภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language) ซึ่งในบทความนี้เราจะพาทุกคนเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ตลอดจนถึงว่าระดับของภาษามีผลอย่างไรในการเขียนโปรแกรม

 

ภาษาคอมพิวเตอร์ คืออะไร?

ภาษาโปรแกรม หรือ ภาษาคอมพิวเตอร์ คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ เนื่องจากภาษาโปรแกรมเป็นรูปแบบการสื่อสารที่มนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาอื่น ๆ ซึ่งภาษาโปรแกรมแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ภาษาระดับสูง (High-Level Language) และภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language) โดยแต่ละภาษาจะมีวิธีการเขียนโปรแกรมและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

 

ภาษาระดับสูง (High-Level Language)

ภาษาระดับสูง (High-Level Language) คือ ภาษาที่เข้าใจได้ง่ายและสะดวกต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับมนุษย์แต่ยากสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ High-Level Language ได้นั้นจำเป็นจะต้องพึ่งสิ่งที่เรียกว่า Interpreter และ Compiler เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เขียนโค้ดและแปลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ รวมไปถึงการมี Framework และ Library ในตัวที่หลากหลายทำให้การเขียนโค้ดเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากโค้ดและฟังก์ชันที่มีอยู่แล้วได้เลย

 

ภาษาคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างการใช้ High-Level Language

ภาษาระดับสูง (High-Level Language) ที่นิยมได้แก่ Python, Java, C++, JavaScript, Ruby และอื่น ๆ ซึ่ง High-Level Language จะมี Library และ Framework ที่หลากหลายช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถโฟกัสไปที่การแก้ปัญหาต่าง ๆ แทนที่จะมัวแต่จัดการกับรายละเอียดของฮาร์ดแวร์

ข้อดีของ High-Level Language

1. Readability

High-Level Language ใช้โครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ทำให้สามารถอ่านและเข้าใจโค้ดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรมเมอร์

2. Productivity

High-Level Language ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถทำ Algorithms ด้วยจำนวนบรรทัดโค้ดที่น้อยลงรวมถึงช่วยลดเวลาในการทำงานลงเช่นกัน

3. Portability

High-Level Language ถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ส่งผลให้โปรแกรมเมอร์สามารถเรียกใช้งานโค้ดบนระบบต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นและไม่จำเป็นจะต้องเขียนโค้ดขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง นอกจากช่วยให้โปรแกรมเมอร์ประหยัดเวลา

4. Abundance of Libraries

High-Level Language มี Framework และ Library จำนวนมากซึ่งเมื่อมีการเขียนโค้ดซ้ำจะนำโค้ดที่ใช้งานบ่อยมาแนะนำให้เราสามารถเลือกได้ นักพัฒนาจึงนิยมใช้ประโยชน์จาก Library เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น

5. Community Support

High-Level Language มีชุมชนขนาดใหญ่สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและแบ่งปันความรู้ใน Open Source จำนวนมากช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีการปรับปรุงข้อมูลและทรัพยากรอย่างต่อเนื่องแน่นอน

 

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language)

ภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language) คือ ภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องเป็นอย่างมาก โดย Low-Level Language ถูกออกแบบมาเพื่อเน้นการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่าการทำงานร่วมกับมนุษย์ การใช้ Low-Level Language จะใช้สำหรับงานที่ต้องการควบคุมฮาร์ดแวร์โดยตรง เช่น Device Drivers, Operating Systems และ Embedded Systems เป็นต้น

 

ภาษาคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างการใช้ Low-Level Language

ภาษาระดับต่ำ (Low-Level Language) ประกอบไปด้วย

1. ภาษาเครื่อง (Machine Language)

ภาษาโปรแกรมรุ่นที่หนึ่งที่จะแสดงโค้ดผ่านการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์มาโดยตรง ประกอบไปด้วยเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ซึ่งอ่านได้ยากมากเพราะจำเป็นจะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจในโครงสร้างและการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการอ่านผู้คนจึงไม่นิยมใช้ภาษาเครื่องในการทำงานโดยตรง

2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly languages)

ภาษาโปรแกรมรุ่นที่สองที่ใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรแทนตัวเลข ภาษาแอสเซมบลีนั้นสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาเครื่อง ซึ่งการทำงานก็คือโปรแกรมเมอร์เขียนโค้ดโดยใช้คำสั่งช่วยจำ (Mnemonic Instructions) จากนั้นก็ใช้โปรแกรม Assembler ในการแปลงเป็นภาษาเครื่องนั่นเอง

ข้อดีของ Low-Level Language

1. Efficiency

Low-Level Language ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถปรับแต่งโค้ดให้มีประสิทธิภาพได้จากการจัดการหน่วยความจำ คำสั่งและการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แม่นยำยิ่งขึ้นผ่านการเข้าถึงของฮาร์ดแวร์

2. Hardware Interaction

Low-level languages ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถเข้าถึงกับส่วนประกอบของฮาร์แวร์ได้โดยตรง เช่น Memory Addresses, Input หรือ Output Ports และ Processor Registers

3. Debugging Capabilities

เนื่องจาก Low-level languages แสดงรายละเอียดข้อมูลของฮาร์ดแวร์ได้ดี ทำให้การตรวจสอบข้อผิดพลาดต่าง ๆ เกิดความแม่นยำอย่างมากไม่ว่าจะเป็นในหน่วยความจำหรือระบบคำสั่ง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้การแก้ไขปัญหาและปรับปรุงโค้ดเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

 

ภาษาคอมพิวเตอร์

สรุป

ทาง ERT หวังว่าคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับโปรเจกต์ของคุณได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะงั้นอย่าลืมเช็กให้ดีว่าภาษาที่คุณเลือกนั้นตรงกับความต้องการของคุณหรือไม่ด้วยล่ะ สำหรับใครที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาโค้ด ทาง ERT ศูนย์ฝึกอบรมของเราก็มีคอร์สมากมายมาแนะนำให้เพื่อน ๆ เลือกกัน ซึ่งสามารถเลือกเรียนได้ทั้งแบบ Onsite และ Classroom มีทั้งแบบ Private และ Public ด้วยนะ สนใจสามารถคลิกลิงก์เพื่อดูรายละเอียดคอร์สเรียนได้เลย! 👉 https://www.ert.co.th/it-training/

 

Ref: computerscience.gcse.guru

 


💬🙋‍♂️ สอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาได้ที่

☎ Tel: 02-718-1599

✉ Email: info@ert.co.th

📱 Line: https://lin.ee/wtyQVtl



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save