Docker คืออะไร? แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ยอดนิยมสำหรับนักพัฒนา

Docker

ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน นักพัฒนาจำเป็นจะต้องอาศัยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่าง Docker เป็นต้น ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านเจาะลึกเกี่ยวกับการใช้งาน ประโยชน์และผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ของ Docker กัน

 

Docker คืออะไร?

Docker คือ แพลตฟอร์ม Open-Source ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถปรับใช้และจัดการแอปพลิเคชันได้โดยอัตโนมัติในรูปแบบ Container โดย Container จะมีบริการแต่ละอย่างที่จำเป็นสำหรับการ Run an application, Code, System tools และ Library ด้วยการใช้เทคโนโลยี Containerization ตัว Docker จึงสามารถจัดการ Version Control ในระบบต่าง ๆ ได้อย่าง่ายดายโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเรียกใช้แอปพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์ของเราขึ้นมา เราจำเป็นจะต้องติดตั้งเวอร์ชันของแอปพลิเคชันให้ตรงกับระบบปฏิบัติติการนั้น ๆ แต่เมื่อมี Docker เราจะสามารถสร้าง Container ที่สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์ทุกประเภทได้ เป็นต้น

 

Docker

Docker ใช้ทำอะไร?

1. Increased Portability

Docker Containers นั้นง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ซึ่งช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไป เช่น Local development machines, Testing servers และ Production servers ถ้าพูดให้เห็นภาพก็คือ Containers นั้นช่วยลดปัญหาการ Run แอปพลิเคชันบนเครื่องที่แตกต่างกันซึ่งปัญหาอาจเกิดจากการที่เครื่องนักพัฒนาแต่ละคนติดตั้งเครื่องมือคนละเวอร์ชันทำให้ไม่สามารถ Run แอปพลิเคชันได้ ดังนั้นเมื่อเราสร้างตัว Containers นี้ขึ้นมาก็จะทำให้นักพัฒนาสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

 

Docker

2. Simplified Deployment

นักพัฒนาสามารถ Deploy แอปพลิเคชันได้ง่ายขึ้นด้วย Docker โดยตัว Containers จะจัดเตรียมรูปแบบมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่านักพัฒนาจะสามารถ Deploy และ Run แอปพลิเคชันได้อย่างง่ายดายบนระบบต่าง ๆ ที่รองรับการทำงานของ Docker

 

Docker

3. Efficient Resource Utilization

ตัว Containers ของ Docker จะใช้ OS, CPU และ RAM ร่วมกันกับ Host OS ซึ่งช่วยลดปัญหาการเกิด Overhead โดยจะแตกต่างกับ Traditional Virtualization ที่มักจะเกิดปัญหา Overhead เนื่องจาก Traditional Virtualization จำเป็นต้องสร้าง VM ขึ้นมาหลาย ๆ ตัวเพื่อให้เพียงพอต่อการ Run แอปพลิเคชันที่แตกต่างกันออกไป ตัว Containers ของ Docker นั้นมีขนาดที่เล็กและใช้ทรัพยากรหรือพื้นที่น้อยทำให้นักพัฒนาสามารถใช้ประโยชน์จากฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

Docker

4. Rapid Development and Testing

ด้วย Docker กระบวนการติดตั้งแอปพลิเคชันจะกลายเป็นเรื่องที่ง่าย เนื่องจากตัว Containers สามารถสร้างขึ้นได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ทำให้ลดเวลาในการติดตั้งและสะดวกในการทดสอบซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มักจะแข่งกับเวลาในปัจจุบัน

 

Docker

ระบบนิเวศของ Docker

Docker Engine

หัวใจหลักของ Docker คือ Docker Engine ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหลักที่รับผิดชอบในการสร้างและจัดการ Containers การใช้เทคโนโลยี Containerization ช่วยแยกแอปพลิเคชันออกจากกันทำให้มั่นใจได้ว่าแอปพลิเคชันจะทำงานสม่ำเสมอแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันก็ตาม

Docker Hub

Docker Hub หรืออีกชื่อ Docker Registry เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลในคลาวด์ที่นักพัฒนาจะทำการอัปโหลด Docker Image ของแอปพลิเคชันเอาไว้ โดยที่นักพัฒนาคนอื่น ๆ จะสามารถเข้าถึง Image เหล่านี้เพื่อนำมาพัฒนาหรือต่อยอดแอปพลิเคชันได้เช่นกัน

Docker Compose

Docker Compose เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถกำหนดค่าแอปพลิเคชันที่มีหลาย Containers ได้สะดวกมากขึ้นโดยการกำหนดตั้งค่าไฟล์ YAML สิ่งนี้ช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการจัดการแอปพลิเคชันและช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้นอีกด้วย

Docker Swarm

Docker Swarm เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและจัดการ Docker จำนวนมากให้อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันได้โดยมี Swarm Manager ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมเครื่องเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ (Worker) ที่เข้ามาช่วยในการทำงาน

 

DockerDocker

การใช้งาน Docker

1. Microservices Architecture

Docker ได้กลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับองค์กรที่ใช้ Microservices Architecture เพราะนอกจากจะช่วยให้นักพัฒนาแบ่งส่วนบริการออกเป็นส่วน ๆ เพื่อแก้ปัญหาความยุ่งยากและความซับซ้อนของระบบขนาดใหญ่แล้วยังช่วยให้นักพัฒนาเข้าใจ พัฒนา และบำรุงรักษาระบบได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

 

Docker

2. Continuous Integration and Continuous Deployment (CI/CD)

การนำ Docker เข้ามาอยู่ในกระบวนการ CI/CD ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาและปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้มั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงโค้ดในแต่ละครั้งจะถูกทดสอบอย่างละเอียดใน Containers ก่อนที่จะถูกนำไปใช้ในการ Deploy Production เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดข้อผิดพลาดและการหยุดทำงาน

 

Docker

3. Hybrid Cloud Deployments

ความสามารถในการประยุกต์ไปที่ระบบปฏิบัติการอื่นโดยไม่ยึดติดกับการเป็นระบบปฏิบัติการเดียว ทำให้ Docker เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการปรับใช้กับระบบ Hybrid Cloud  ซึ่งนักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันและนำไปใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์คลาวด์อื่น ๆ ได้อย่างราบรื่นโดยไม่มีปัญหาด้านความเข้ากันได้

 

Docker

สรุป

Docker เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการจัดการและพัฒนาแอปพลิเคชัน ด้วยความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร Docker ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างสภาพแวดล้อมในการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม Docker ถูกนำเข้ามาปรับใช้กับองค์กรมากขึ้นและได้กลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน

 

Ref: ibm

 


💬🙋‍♂️ สอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาได้ที่

☎ Tel: 02-718-1599

✉ Email: info@ert.co.th

📱 Line: https://lin.ee/wtyQVtl



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save