DevOps คืออะไร มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไร?
โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการผลิตซอฟต์แวร์นั้นจะใช้ระยะเวลาที่นาน แต่หากบริษัทสามารถปล่อยซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็วก็จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบ DevOps นั้น จะช่วยให้องค์กรดูแลด้านความเสถียรของซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด วันนี้ทาง ERT จะพามาดูกันว่าการทำงานของ DevOps เป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้
Contents
DevOps คืออะไร?
DevOps คือ แนวทางการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) และทีมปฏิบัติการด้าน IT (IT Operation) ภายในองค์กร โดยเป้าหมายหลักของ DevOps คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ ความเร็วและคุณภาพของการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อให้ซอฟต์แวร์สามารถออกตลาดได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบก่อนนั้นทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการมักจะทำงานแยกกัน ทำให้เกิดช่องว่างในการสื่อสารและความล่าช้าในการทำงาน ซึ่ง DevOps พยายามแก้ไขปัญหาในจุดนี้และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันระหว่างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการให้ราบรื่นตลอดการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมด
DevOps ทำอะไรบ้าง?
1. Collaboration
DevOps สนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างทีม โดยเน้นที่การรับผิดชอบและการตัดสินใจร่วมกันระหว่างการพัฒนา การดำเนินงานและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ซึ่งการทำงานร่วมกันนี้ช่วยเพิ่มการสื่อสาร ลดความเข้าใจผิดและช่วยให้ทีมสามารถมุ่งสู้เป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น
2. Automation
ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งสำคัญใน DevOps ที่ช่วยปรับปรุงงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ด้วยตัวเองผ่านการใช้เครื่องมือและสคริปต์ กระบวนการอัตโนมัตินอกจากจะช่วยลดข้อผิดพลาดแล้วยังช่วยเร่งกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย
3. Continuous Integration (CI)
CI คือการรวบรวมโค้ดที่มีการพัฒนาจากสมาชิกคนอื่น ๆ ให้เป็นชิ้นเดียวกัน เพื่อให้นักพัฒนาสามารถตรวจจับและแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่ต้น รวมถึงช่วยปรับปรุงคุณภาพของโค้ดและลดข้อผิดพลาดในการส่งมอบซอฟต์แวร์
4. Continuous Delivery or Continuous Deployment (CD)
- Continuous Deployment กระบวนการส่งออกโค้ดที่พัฒนาขึ้นไปยังระบบจริง โดยทำให้กระบวนการปรับใช้เป็นไปโดยอัตโนมัติ
- Continuous Delivery กระบวนการส่งออกซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ทีมพัฒนาสามารถส่งออกซอฟต์แวร์ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
5. Monitoring and Feedback
DevOps เน้นการตรวจสอบแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ทำให้ทีมสามารถตรวจจับและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ Feedback loops ยังช่วยปรับปรุงกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ใช้และข้อมูลเข้ากับกระบวนการการพัฒนา
ประโยชน์ของการใช้ DevOps
1. Faster Time-to-Market
DevOps ช่วยปรับปรุงกระบวนการพัฒนาและการปรับใช้ให้รวดเร็ว ทำให้องค์กรสามารถปล่อยฟีเจอร์และอัปเดตใหม่ ๆ ได้บ่อยยิ่งขึ้น สิ่งนี้ช่วยให้องค์กรสร้างความได้เปรียบในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2. Improved Collaboration
DevOps ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ การสื่อสารและความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นนี้ช่วยให้การทำงานเป็นทีมและเป้าหมายสำเร็จลุล่วงเร็วยิ่งขึ้น
3. Higher Quality Software
DevOps มุ่งเน้นถึงการทดสอบอัตโนมัติและการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้ซอฟต์แวร์มีคุณภาพที่ดีขึ้นตามมา โดยการทดสอบอัตโนมัติจะช่วยในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโค้ดในขั้นตอนการพัฒนารวมถึงช่วยลดโอกาสในการปล่อยโค้ดที่มีข้อผิดพลาดออกไปอีกด้วย
4. Enhanced Customer Experience
ด้วยความเร็วในการปล่อยฟีเจอร์และการอัปเดตที่รวดเร็วยิ่งขึ้น องค์กรสามารถมอบประสบการณ์ในการใช้งานให้ลูกค้าที่ดีขึ้นได้ ซึ่งลูกค้าจะได้รับฟีเจอร์และการอัปเดตใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องสิ่งนี้ช่วยสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าตลอดการใช้งาน
5. Increased Efficiency and Productivity
ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ DevOps การทำให้งานที่ต้องใช้กระบวนการทำที่ซ้ำ ๆ เป็นไปได้โดยอัตโนมัติช่วยลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดของมนุษย์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่ม Productivity โดยรวม
6. Better Risk Management
การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและการทดสอบอัตโนมัติช่วยให้องค์กรสามารถระบุและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาร้ายแรง สิ่งนี้ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความเสถียรภาพของระบบมากขึ้น
เครื่องมือและเทคโนโลยียอดนิยมใน DevOps
DevOps พึ่งพาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่หลากหลายซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานอัตโนมัติ การทำงานร่วมกัน และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เครื่องมือบางที่นิยมใช้กันใน DevOps ได้แก่
- Version Control Systems ได้แก่ Git, Subversion
- Build Automation ได้แก่ Jenkins, Travis CI, CircleCI
- Configuration Management ได้แก่ Ansible, Chef, Puppet
- Containerization ได้แก่ Docker, Kubernetes
- Continuous Integration/Continuous Deployment (CI/CD) Pipelines ได้แก่ GitLab CI/CD, Azure DevOps, TeamCity
การเลือกใช้เครื่องมืออาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการและความชอบเฉพาะของแต่ละองค์กร ทีม DevOps ควรประเมินความต้องการและเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับโครงสร้างพื้นฐานและกระบวนการทำงานที่มีอยู่
สรุป
DevOps กลายเป็นแนวทางการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาและปรับใช้ซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน ด้วยการรวมแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาและการดำเนินงานเข้าด้วยกัน DevOps ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ได้รวดเร็วทั้งในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกเปิดรับ DevOps มากขึ้นก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าแนวทางดังกล่าวยังคงมีประสิทธิภาพ ด้วยการติดตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมและแสวงหาวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง องค์กรต่าง ๆ จึงสามารถสร้างความได้เปรียบของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของลูกค้าได้
Ref: aws.amazon
💬🙋♂️ สอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาได้ที่
☎ Tel: 02-718-1599
✉ Email: info@ert.co.th
📱 Line: https://lin.ee/wtyQVtl