Cloud Computing คืออะไร มีกี่ประเภท? เข้าใจแบบง่าย ๆ

Cloud Computing คืออะไร

หลายคนอาจสงสัยว่า Cloud Computing คืออะไร ถ้าให้พูดถึงระบบ Cloud อย่างพวก Google Drive หรือ OneDrive ที่เป็น Cloud Storage ก็อาจจะทำให้ทุกคนเห็นภาพกันมากขึ้น แต่ Cloud Storage ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ Cloud Computing เท่านั้น มาถึงตรงนี้หลายคนคงอยากจะรู้แล้วว่าเจ้า Cloud Computing มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยในส่วนนี้กัน

 

Cloud Computing คืออะไร?

Cloud Computing คือ บริการเช่าทรัพยากร IT อย่างเซิร์ฟเวอร์ พื้นที่เก็บข้อมูล ฐานข้อมูล เครือข่าย และซอฟต์แวร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการต่าง ๆ เช่น AWS, Microsoft Azure, Google Cloud Platform เป็นต้น โดยเราสามารถเข้าถึงหรือใช้ทรัพยากรได้ตามที่ต้องการที่ไหนก็ได้เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น และค่าใช้จ่ายในการใช้งานค่อนข้างที่จะยืดหยุ่นและประหยัดหรือพูดง่าย ๆ ก็คือเราใช้เท่าไหร่ เราก็จ่ายเท่านั้น รวมถึงสามารถแชร์การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมทีมได้อีกด้วย นี่อาจจะเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่หลาย ๆ ธุรกิจเริ่มหันมาใช้บริการระบบ Cloud Computing มากขึ้น

 

Cloud Computing คืออะไร

บริการ Cloud Computing มีอะไรบ้าง?

Infrastructure as a Service (IaaS)

บริการที่ให้ลูกค้าสามารถเช่าทรัพยากรได้ตั้งแต่ เซิร์ฟเวอร์ พื้นที่เก็บข้อมูลและระบบเครือข่ายในรูปแบบเสมือน (Virtualization) โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งหรือซื้อ Hardware ของตัวเองก็สามารถใช้ทรัพยากรเหล่านี้เพื่อเข้าถึงข้อมูลได้ตามที่ต้องการ ตัวอย่างผู้ให้บริการ IaaS เช่น Azure Virtual Machine (VM), Amazon Elastic Compute Cloud (EC2)

Platform as a Service (PaaS)

บริการพัฒนาจัดการแอปพลิเคชันสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นการเช่าระบบเซิร์ฟเวอร์ที่ผู้ให้บริการจะเตรียมทรัพยากรและเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับการพัฒนาไว้ให้เรา โดยเรามีหน้าที่แค่ปรับใช้ พัฒนาข้อมูลและแอปพลิเคชันบนแพลตฟอร์มเท่านั้น ตัวอย่างผู้ให้บริการ PaaS เช่น AWS Elastic Beanstalk, Microsoft Azure App Service, และ Google App Engine

Software as a Service (SaaS)

บริการเช่าซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการจากที่ไหนก็ได้ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ตเพียงแค่เชื่อมผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการจัดการหรือดูแลระบบคอมพิวเตอร์เอง เพราะว่าระบบคลาวด์ได้จัดการทุกอย่างไว้ให้แล้ว ตัวอย่างผู้ให้บริการ SaaS เช่น Dropbox, Microsoft Office 365, Google Drive เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ERT ศูนย์ฝึกอบรมที่ให้บริการด้าน IT แบบ One Stop Service

 

Cloud Computing คืออะไร

Cloud Computing มีกี่ประเภท?

Private Cloud

คลาวด์แบบปิดที่มีแค่คนในองค์กรกลุ่มเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ โดย Private Cloud นั้นจะมีการควบคุมจัดการรักษาความปลอดภัยได้ดีกว่าตัว Public Cloud และเหมาะสำหรับองค์กรที่มีข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เข้มงวด ยกตัวอย่างเช่น บริษัทลงทุนจัดหา Cloud Data center มาเป็นของตัวเองข้อดีคือสามารถปรับเปลี่ยนกำหนดค่าต่าง ๆ ได้อย่างอิสระในส่วนของข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายที่สูงเพราะต้องลงทุนเองและดูแลระบบเอง ตัวอย่างผู้ให้บริการ เช่น VMware และ OpenStack

Public Cloud

คลาวด์แบบเปิดที่สามารถให้ผู้ใช้บริการทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดย Public Cloud นั้นช่วยให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นทำให้ง่ายต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นรวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะจ่ายตามการใช้งานจริง ตัวอย่างผู้ให้บริการ เช่น AWS, Microsoft Azure, Google Cloud Platform, Oracle, Tencent

Hybrid Cloud

เป็นการรวมตัวระหว่าง Public Cloud และ Private Cloud ที่นำเอาข้อดีของทั้งสองตัวมารวมกัน เช่น บริษัทเก็บข้อมูลภายในองค์กรที่มีความสำคัญสูงผ่าน Private Cloud และใช้ Public Cloud ในการจัดการกับ Workload ที่เกิดความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

Cloud Computing คืออะไร

 

💖 สำหรับใครที่ต้องการเพิ่มความสามารถของ Cloud Computing ทาง ERT ศูนย์ฝึกอบรมของเราก็มีคอร์สเรียนมากมายมาแนะนำให้เพื่อน ๆ เลือกกัน ซึ่งสามารถเลือกเรียนได้ทั้งแบบ Onsite และ Classroom มีทั้งแบบ Private และ Public ด้วยนะ หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cloud Computing ก็สามารถดูรายละเอียดได้เลยที่ลิงก์ด้านล่างนี้!! 👇👇

https://www.ert.co.th/it-training/

 


💬🙋‍♂️ สอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาได้ที่

☎ Tel: 02-718-1599

✉ Email: info@ert.co.th

📱 Line: https://lin.ee/wtyQVtl



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save