สรุปประเด็น เกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจเมื่อ Broadcom ซื้อ VMware?
เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2566 ที่ผ่านมา Broadcom บริษัทผู้ออกแบบ พัฒนา และจัดหาอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำระดับโลกของสหรัฐฯ ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าได้เข้าซื้อกิจการ VMware มูลค่า 69,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและเร่งสร้างนวัตกรรมที่ล้ำหน้า แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยว่าการซื้อกิจการในครั้งนี้ สร้างความไม่แน่นอนในระดับสูงเกี่ยวกับนโยบายการกำหนดราคาและกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมสำหรับลูกค้าปัจจุบัน ดังนั้น วันนี้ ERT จะพามาดูกันว่าการที่ Broadcom ซื้อ VMware ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้
Contents
Broadcom ซื้อ VMware มูลค่า 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์
หลังจากที่ Broadcom บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกได้เข้าซื้อกิจการบริษัท VMware อย่างเป็นทางการด้วยมูลค่า 69,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (2 ล้านล้านบาทไทย) ซึ่งใช้เวลานานถึง 2 ปี ทำให้การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้กลายเป็นหนึ่งในข้อตกลงที่ใหญ่ที่สุดในระดับโลก และเป็นความพยายามล่าสุดของ Hock Tan CEO ของ Broadcom ในการเสริมสร้างธุรกิจซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตชิปอย่าง Broadcom
อย่างไรก็ตาม เมื่อ Broadcom เข้าซื้อ VMware ได้สำเร็จ ก็ได้ออกนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อทั้งวงการ อย่างแรกคือการประกาศยกเลิก Partner ทุกรายของ VMware Reseller รวมถึง Cloud Provider และ Distributor อีกทั้งยังได้ Layoff พนักงานทั่วโลกจำนวนมากและสั่งปิด Office หลายที่ทั่วโลกรวมถึงในไทยด้วยเช่นกัน อีกหนึ่งผลกระทบที่ส่งผลต่อลูกค้า คือการยกเลิกการขาย Perpetual License และเปลี่ยนมาเป็นแบบ Subscription แทน นอกจากนี้ ยังจัด Product Package ของ VMware ใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อแบบ A La Carte อีกด้วย ทำให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จึงส่งผลกระทบต่อ Partner และลูกค้าโดยตรง
ทำความรู้จัก VMware
VMware คือ บริษัทซอฟต์แวร์ที่ให้บริการ Virtualization และ Cloud Computing แก่ธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 ด้วยซอฟต์แวร์ที่ทุกองค์กรและอุตสาหกรรมต่างใช้งานกัน ทำให้ VMware ได้กลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมด้าน Virtualization ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่ง Virtualization ในที่นี้ก็คือการจำลองระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์นั้น ๆ ขึ้นมาโดยให้ระบบปฏิบัติการ (OS) อย่าง Microsoft Windows, Linux, Mac และแอปพลิเคชันหลายตัวสามารถทำงานได้ผ่านทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่าง Ram, Hard disk, CPU หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Virtual Machines (VMs) ได้ภายในเครื่องเดียว
บทความที่เกี่ยวข้อง : VMware คืออะไร มีข้อดีอะไรบ้าง? ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมของ VMware
ทำไม VMware ต้องขายบริษัท?
แม้ว่า VMware จะมีผลประกอบการที่ดีมาก โดยเฉพาะในปี 2023 บริษัทสามารถทำกำไรได้สูงถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งเทียบเท่ากับธนาคารใหญ่ ๆ ในประเทศไทย แต่เหตุผลที่ VMware จำเป็นต้องขายบริษัทนั้น เนื่องจาก Dell ซึ่งเป็นเจ้าของ VMware ต้องการแยกหุ้น เพื่อให้ทั้งสองบริษัทสามารถพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันตามแนวทางของตนได้ และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินของ Dell นั่นเอง
ทำไม VMware ต้องขายให้ Broadcom?
แน่นอนว่ามีบริษัทหลายแห่งที่มีความสนใจจะซื้อ VMware แต่ด้วยความที่ VMware เป็นเจ้าตลาดที่ครอง Virtualization แบบเรียกได้ว่าผูกขาด ทำให้ VMware เป็นที่สนใจจาก Regulator เพราะ Regulator จะไม่อนุมัติหากผู้ซื้อนั้นมีธุรกิจที่ผูกขาดกับตลาดมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้บริษัท IT ที่สนใจจะซื้อ VMware อย่างเช่น Microsoft, Oracle, Cisco ถูกตัดสิทธิ์ทั้งหมด รวมถึง VMware เป็นบริษัทที่ใหญ่มาก บริษัทที่จะซื้อต้องมีขนาดที่ใหญ่กว่า ทำให้ Broadcom ที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่สามารถซื้อ VMware ได้
Broadcom ซื้อ VMware ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร?
-
ผลกระทบกับลูกค้าที่ใช้ On-Premise
สำหรับองค์กรที่ใช้ VMware On-Premise อาจได้รับผลกระทบ คือ ไม่สามารถซื้อ MA สำหรับ Perpetual License ได้ จำเป็นต้องซื้อแบบ Subscription License เท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ VMware หลายตัว อาจได้รับผลกระทบน้อยกว่าผู้ที่ใช้ผลิตของ VMware เพียงไม่กี่ตัว เช่น หากใช้แค่ ESXi ก็จะโดนบังคับซื้อ VMware Cloud Foundation (VCF) แทน ซึ่งสาเหตุที่ Broadcom ออกนโยบายดังกล่าวนี้ เพราะต้องการเน้นขายลูกค้าที่มีขนาดใหญ่ แต่ก็ทำให้ลูกค้าที่ได้ผลกระทบไม่พอใจอีกเช่นกัน
-
ผลกระทบกับลูกค้าที่ใช้ Local Cloud
ปัจจุบัน Broadcom ออกนโยบายที่ให้ Cloud Provider ที่ได้รับการเลือก สามารถนำ License VMware ไปขายต่อให้แก่ Cloud Provider เจ้าอื่น ๆ ได้ โดยมีเงื่อนไขคือ Cloud Provider ที่ Broadcom เลือก จะต้องให้บริการ Technical Support ในระดับ Tier 1 และ Tier 2 ให้แก่ Secondary Provider โดยที่ Secondary Provider จะไม่สามารถเปิดเคสกับ VMware ได้ ดังนั้น องค์กรที่ใช้บริการจาก Cloud Provider ที่ไม่ได้เป็น Partner กับ Broadcom อาจได้รับผลกระทบพอสมควร เช่น การหยุดให้บริการต่อ การขึ้นราคา หรือมี Platform อื่น ๆ มารองรับแทน VMware
-
ผลกระทบกับลูกค้าที่ใช้ Public Cloud
สำหรับองค์กรที่ใช้ Public Cloud อาจได้ผลกระทบน้อย หรือหากมีก็อาจมีนโยบายย้าย On-Premise หรือ Local Cloud ขึ้น Public Cloud ซึ่งอาจมีโอกาสสูงที่ TCO จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงต้องวางแผน FinOps ให้ดี
สรุป
การที่ Broadcom ซื้อ VMware ส่งผลกระทบอย่างมากต่อลูกค้าของ VMware โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ License แบบถาวร อาจต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อใช้บริการต่อ หรือต้องเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์จากผู้ให้บริการเจ้าอื่นแทน ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะส่งผลต่อราคาผลิตภัณฑ์ในระยะยาวอย่างไร แต่ผู้ใช้งาน VMware ควรเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยอาจหันไปหาทางเลือกอื่น เช่น Nutanix, OpenStack, Proxmox เป็นต้น หรือการย้ายระบบขึ้น Cloud แทน เพื่อช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Ref: blog.cloudhm, nipa.cloud, news.vmware
💬🙋♂️ สอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาได้ที่
☎ Tel: 02-718-1599
✉ Email: info@ert.co.th
📱 Line: https://lin.ee/wtyQVtl